วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

กฏหมายสิ่งแวดล้อม



ภาพรวมของกฎหมายสิ่งแวดล้อมไทยสิ่งแวดล้อม คือ อะไร ?

     เมื่อเราพูดถึงสิ่งแวดล้อมหลายคนอาจจะยังสงสัยว่าสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังพูดถึงนั้นหมายถึงอะไรบ้าง รวมถึงทุกอย่างเลยหรือไม่ บางครั้งสิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจถูกมองข้ามหรือปล่อยปละละเลยจนกระทั่งเกิดความผิดปกติอย่างชัดเจนหรือส่งผลเสียต่อระบบอื่นๆที่พวกเราพึ่งพาหรือใช้ประโยชน์อยู่ทุกวัน พวกเราจึงมองเห็นและเริ่มให้ความใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Environment) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งแวดล้อมอาจจะกินความหมายกว้างแต่ถ้าพูดถึง สิ่งแวดล้่อมตามความหมายของกฎหมาย สิ่งแวดล้อมหมายถึงสิ่งต่างๆที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ซึ่งเกิดโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้นกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีลักษณะเหมือนกับกฎหมายอื่นๆคือ วางกฎเกณฑ์หรือระเบียบให้กับพวกเราต้องทำตามเสมือนเป็หน้าที่อย่างหนึ่งที่จะต้องทำนอกจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว กฎหมายสูงสุดของประเทศอย่างรัฐธรรมนูญเองก็ได้เขียนเกี่ยวกับหน้าที่ของประชาชนต้องทำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย“รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ ส่งเสริม บำรุง รักษาและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลัก การพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อ สุขภาพอนามัยสวัสดิภาพ และ คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยประชาชนชุมชนท้องถิ่น และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน” นอกจากกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศแล้ว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งถือเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศก็ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไว้ด้วยเช่นกัน โดยกำหนดแผนการจัดการ การพัฒนาการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย โดยมีหลักในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรมชาติและเรื่องที่มุ่งเน้นในการพัฒนาและใช้ประโยชน์


สาระสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อม

     พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มีเนื้อหาในการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบรอบด้าน ทั้งมลพิษทางน้ำทางอากาศ เสียง และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความเข้มแข็งในการบังคับใช้กฎหมาย โดยการกำหนดให้มีเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายทำหน้าที่ควบคุมดูแลการบังคับใช้กฎหมายในด้านต่างๆอย่างจริงจังนอกจากนี้ กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ยังได้เอาหลักการทางเศรษฐศาสตร์เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ด้วย เช่น หลักผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย (Polluter Pays Principle) และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม

จุดมุ่งหมายของการมีกฎหมายสิ่งแวดล้อม

     คือ ป้องกัน ปรับปรุง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม รวมถึง ลงโทษผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม คือ จุดมุ่งหมายของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ลักษณะเด่นของกฎหมายฉบับนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยมีข้อกำหนดในกฎหมายดังนี้ คือประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐในกรณีที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากมลพิษ
-      
     ที่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมหรือโครงการของรัฐการร้องเรียนหรือกล่าวโทษผู้กระทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมองค์กรเอกชน หรือ NGOs ด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสามารถที่จะขอรับการช่วยเหลือ จากทางราชการในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมตลอดถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในคดีสิ่งแวดล้อมและการขอเิงินอุดหนุน หรือเงินกู้จากกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อกิจกรรมต่างๆได้ด้วย

-   



กฎหมายสิ่งแวดล้อมก็เช่นเดียวกับกฎหมายอื่นๆ 
     ที่มีบทลงโทษกับผู้กระทำความผิด ความผิดตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยผู้กระทำความผิดอาจเป็นบุคคลเดียว กลุ่มคน บริษัทเอกชน หน่วยงานของรัฐ โรงงาน หรือใครก็ตามที่เป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือก่อความเสียหายให้ผู้อื่นหรือชุมชนก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย ดังนี้

การทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากร มีโทษทั้งกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง

     เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งมลพิษจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง ถ้าหากปล่อยให้แหล่งกำเนิดมลพิษที่ตัวเองดูแลหรือครอบครองอยู่นั้นก่อให้เกิดการรั่วไหลหรือแพร่กระจายมลพิษ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือทรัพย์สินไม่ว่าผลเสียหายนั้นจะเกิดเพราะความจงใจให้เกิดหรือประมาทเลินเล่อก็ตามยกเว้นเสียแต่ว่ามลพิษจากแหล่งกำเนิดนั้น เกิดขึ้นเพราะคำสั่งของรัฐบาลหรือพนักงานของรัฐ เกิดเพราะเหตุสุดวิสัยนอกจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ที่กำหนดมาตรฐานในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษไว้อย่างกว้างๆแล้วยังมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอีกหลายฉบับที่ำได้กำหนดเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในแต่ละเรื่องโดยมีราละเอียดมากขึ้นและมีมาตรการการจัดการที่ชัดเจน เช่น

   -กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพน้ำและการควบคุมมลพิษทางน้ำ
-   -กฎหมายเกี่ยวกับขยะมูลฝอย
-   -กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัย
-   -กฎหมายเกี่ยวกับองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม
-   -กฎหมายเกี่ยวกับกองทุนสิ่งแวดล้อม
-   -กฎหมายเกี่ยวกับเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
-   -กฎหมายเกี่ยวกับเขตควบคุมมลพิษ
-   -กฎหมายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
-   -กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์
-   -กฎหมายเกี่ยวกับโรงงาน
-   -กฎหมายเกี่ยวกับคุณภาพระดับเสียงและการควบคุมมลพิษทางเสียง
-   -กฎหมายเกี่ยวกับสารพิษ สารเคมี วัตถุอันตราย วัตถุมีพิษและการควบคุม

     นอกจากนี้ยังมีมาตรการที่เป็นกฎระเบียบและประกาศอีกหลายฉบับที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาเพื่อเป็นแนวทางและกำหนดเป็นมาตรฐานในควบคุมและรักษาสิ่งแวดล้อมประกาศเรื่อมาตรฐานสิ่งแวดล้อมได้แก่มาตรฐานคุณภาพน้ำมาตรฐานคุณภาพอากาศมาตรฐานคุณภาพระดับเสียงและการควบคุมและมาตรฐานสารพิษและการควบคุมประกาศเรื่องการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้แก่ประกาศเรื่องข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในการครอบครองของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมประกาศเรื่องโครงสร้างและการจัดหน่วยงานอำนาจหน้าที่วิธีดำเนินงานและสถานที่ติดต่อเพื่อรับข้อมูลข่าวสารของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและระเบียบกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ..2541 เป็นต้น

     กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นเครื่องมือ
อย่างหนึ่งของรัฐในการเข้ามาช่วยจัดระเบียบสังคมให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดมลพิษมากเกินควร ไม่อันตรายต่อสุขภาพของประชาชน แล้วยังมีเครื่องมือที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นออกมาอีกมาก ที่สามารถช่วยให้สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย




อ้างอิง

-ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แลกคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. 2552. พิมพ์ครั้งที่1

-พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535

-รองศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ วงศ์บัณทิต. 2550. หนังสือกฎหมายสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่2 แก้ไข      เพิ่มเติม.   กรุงเทพฯ: วิญญูชน

-กอบกุล รายะนาคร กฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทย ฉบับที่ 19 เดือนตุลาคม 2540

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น